top of page
ค้นหา

ชนิดของเหล็กต่าง ๆ สำหรับดาบคาตานะ

  • chalizztc
  • 26 มิ.ย. 2564
  • ยาว 1 นาที

เมื่อถึงเวลาที่จะเลือกซื้อดาบคาตานะ วากิซาชิ ทันโตะ โนดาชิ และชนิดของดาบญี่ปุ่นอีกมากมาย มันมีความสำคัญระดับต้น ๆ เลยว่า เราต้องเข้าใจเหล็กของดาบเล่มนั้น ๆ รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน



สุดท้าย เราก็ต้องกลับไปพิจารณาว่า คำว่าเหล็กที่ดีที่สุดสำหรับดาบที่เราอยากมีไว้ในครอบครองนั้น จะนำไปใช้ในกรณีใด ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงชนิดของเหล็กต่าง ๆ ที่นิยมซื้อกันในบ้านเรา แต่แน่นอนว่า ยังมีเหล็กอื่น ๆ อีกมากมายที่ถูกนำมาตีเป็นดาบ ซึ่งมีทั้งเหล็กที่มีคุณภาพดีกว่า และเหล็กที่มีคุณภาพที่แย่กว่า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ล่ะบุคคล.





Carbon Steel Katana

เหล็กผสมคาร์บนเป็นเหล็กที่ดีสำหรับการตีดาบคาตานะ และรวมถึงดาบญี่ปุ่นชนิดอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน และเหล็กคาร์บอนถูกกำหนดด้วยตัวเลข 2 ตัวแรกเช่นเลข 10 และจึงตามด้วยตัวเลขตั้งแต่ 01-99 ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเป็นแต้ม ก็เหมือนเป็นตัวบอกส่วนผสมของเปอร์เซนต์คาร์บอนในเหล็กนั่นเอง เช่นเหล็ก 1060 ก็หมายถึงมีการผสมคาร์บอนในอัตราส่วน 0.60% และถ้าเป็นเหล็ก 1095 นั่นก็หมายถึงมีการผสมคาร์บอนในอัตราส่วนที่ 0.95% เป็นต้น


ดาบคาตานะส่วนใหญ่แล้วจะมีการใช้เหล็กตั้งแต่ 1045, 1050, 1060 และ 1095 รวมถึง T10 (1.00% คาร์บอน) เดี๋ยวเรามาลองดูกันว่าเหล็กเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างไรในเรื่องของประสิทธิภาพ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นดาบคาตานะ


เหล็ก 1045 Carbon Steel (0.45% คาร์บอน) เป็นเหล็กที่เกรดต่ำที่สุดแล้วในการที่ช่างตีดาบจะทำดาบคาตานะ เป็นตามมารตฐานที่พอจะยอมรับได้ ทั้งในระดับโรงงานและตลาด เหล็กชนิดนี้ตีขึ้นรูปได้ง่าย และสามารถมีความแข็งแรงได้ระดับนึง แต่ถ้าต้องการดาบที่มีคุณภาพ อยากให้ผู้ซื้อพิจารณา upgrade เหล็กที่มีคาร์บอนสูงกว่านี้จะดีกว่า ถ้าต้องการดาบที่จะสามารถเก็บรักษาความคมได้นาน ไม่ขึ้นสนิมง่าย และไม่หักเวลาต้องใช้ฟันของที่แข็ง


เหล็ก 1060 Carbon Steel (0.60% คาร์บอน)ให้ความบาลานซ์ระหว่างความแกร่งและความแข็งของเหล็ก ดาบส่วนใหญ่ในตลาดที่มีความทนทานมักจะเลือกใช้เหล็กชนิดนี้ในการตีดาบขึ้นมา เหล็กชนิดนี้ได้รับความนิยมและยอมรับในตลาดมากกว่าเหล็ก 1045 แต่การตีดาบ (การผลิต) ก็มีขึ้นตอนที่ยุ่งยากกว่าระดับนึง หากต้องเปรียบเทียบกัน


เหล็ก 1095 Carbon Steel (0.95% คาร์บอน) สำหรับดาบที่มีใบดาบที่ตีขึ้นรูปมาด้วยเหล็กชนิดนี้สามารถที่จะมีการเก็บรักษาคุณภาพของดาบ รวมถึงความคมของดาบได้นานกว่าเมื่อเทียบกับดาบที่ใช้เหล็กที่มีส่วนผสมคาร์บอนที่ต่ำกว่า แต่ไม่ใช่ว่าเหล็กดีแล้วจะไม่มีข้อเสียเลยซะทีเดียว ยิ่งเหล็กแข็งเท่าไหร่ โอกาสที่เขาจะหักเมื่อมีการกระทบกับของแข็งก็เกิดขึ้นได้มากกว่าเหล็กที่มีส่วนผสมคาร์บอนที่ต่ำกว่า


คาตานะ เหล็กสปริง


คาตานะด้วยเหล็กสปริง ด้วยความเหมาะสมของเหล็ก ซึ่งมีทางให้เลือกแตกออกไป 2 ชนิดคือ 1. เหล็กสปริง 5160 และ 2. เหล็กสปริง 9260


เหล็กสปริงมีส่วนผสมของซิลิคอนเล็กน้อย แต่ด้วยส่วนผสมนี้ทำให้ดาบสามารถคืนรูปได้ หากต้องมีการถูกทำให้เกิดการโค้งงอ คุณสมบัติของเหล็กทั้งสองชนิดที่กล่าวมาต่างมี 0.60% ของคาร์บอนในตัวเหล็ก


5160 Spring Steel - เหล็กชนิดนี้มีส่วนผสมของโครเมียมที่ต่ำ และการผสมโครเมียมร่วมกับธาตุซิลิคอนเล็กน้อยจะทำให้เหล็กมีความแข็งแรงและทนกว่า และเมื่อถูกตีเป็นดาบ ก็จะให้คุณสมบัติในเรื่องของทนการกระแทกที่อาจจะทำให้ดาบต้องเกิดการโค้งงอเพียงช่วงปะทะ และสุดท้ายดาบก็สามารถคืนสภาพกลับมาตรงเหมือนเดิมได้


9260 Spring Steel - เหล็กชนิดนี้มีจำนวนเปอร์เซ็นต์ของซิลิคอนมากกว่าเหล็ก 5160 ทำให้ดาบมีความสามารถที่จะทนต่อการถูกทำให้โค้งงอได้ บางเล่มสามารถทำโค้งงอได้ถึง 90 องศาเลยทีเดียว และดาบยังสามารถเด้งกลับคืนสภาพมาเหมือนเดิมได้


ดาบคาตานะ Tool Steel (T)


Tool Steels คือเหล็กที่มีส่วนผสมของเหล็กที่ส่วนผสมของคาร์บอนสูง และยังมีส่วนผสมของเหล็กอัลลอยด์ ทำให้เหล็กสามารถมีความแข็งแรงสูง และยังสามารถทนต่อความร้อนสูงได้ดี ตอนถูกตีขึ้นดาบโดยช่างผู้ชำนาญ ดาบที่ใช้เหล็กชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการรักษาความคม ไม่บิ่นง่าย และสามารถคงสภาพดาบได้นานกว่าเหล็กชนิดที่ผสมคาร์บอนอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมา ถึงแม้เหล็กชนิดนี้จะมีมากมาย แต่ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่นิยมในตลาดมีเพียงสองตัว นั่นคือเหล็กดังนี้

T10 Tool Steel - เป็นเหล็กคาร์บอนสูงผสมกับธาตุอัลลอยด์และแร่ทังสเตน (Tungsten). ด้วยคุณสมบัติของตัวทังสเตน ทำให้ใบดาบทนต่อการสึกหรอ และทนต่อการเกิดรอยถลอก หากเปรียบเทียบกับเหล็กชนิดอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด


L6 Bainite (L6 ไบไนต์) - ตัวอักษร L ถูกนำมาใช้แยกเหล็กชนิดพิเศษนี้ออกจากชนิดของเหล็กที่ใช้ทำดาบคาตานะโดยเฉพาะ เหล็กชนิดนี้มีส่วนผสมของเหล็กอัลลอยด์ และเป็นที่รู้จักกันในวงการดาบว่าเป็นเหล็ก L6 เป็นเหล็กที่ดุดันและทนทานที่สุดในบรรดาเหล็กที่สามารถเลือกมาทำดาบคาตานะได้ และแน่นอนว่า ด้วยความเป็นเหล็กพิเศษ และมีวิธีการหลอม การตีเหล็ก การลับคมที่ยากขึ้นไป นั่นหมายถึงราคาที่จะแพงตามขึ้นมาอย่างที่ควรจะเข้าใจกันได้


Folded / Damascus Katana Steel (เหล็กตีทบ)

ดาบชนิดนี้เป็นดาบที่ใช้เทคนิคดั้งเดิมของช่างตีดาบฝีมือดีของญี่ปุ่น กล่าวคือการพับเหล็กก่อนที่จะนำไปขึ้นรูปดาบ ยิ่งพับจำนวนครั้งเท่าไหร่ ก็จะเกิดลวดลายของเส้นเหล็กมากขึ้น หากมีการทบเหล็กถึง 20 ครั้ง จะทำให้เหล็กมีความเป็นชั้นเหล็กถึงหนึ่งล้านชั้น


ในขณะเดียวกัน ดาบชนิดนี้เป็นดาบที่แสดงถึงวัฒนธรรมการตีดาบด้วยช่างฝีมือระดับพระกาฬตั้งแต่สมัยโบราณ ถ่ายทอดวิชาการตีดาบกันมาเป็นตระกูล แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะต้องมีการถกเถียงกันว่า การทำเหล็กเป็นชั้น ๆ มีผลต่อคุณสมบัติความเป็นดาบเมื่อต้องถูกใช้งานหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเคมี และนักดาบเองก็ต่างพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าเป็นเหล็กสมัยใหม่อย่างเหล็กต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว การตีทบจะให้เพียงความสวยงามของดาบ แต่คุณสมบัติยังคงเดิมตามชนิดของเหล็กที่ใช้


แต่ถ้าเป็นการใช้เหล็กอย่าง Tamahagane (ทามาฮากาเนะ) ในการตีทบของเหล็ก เพื่อที่จะกำจัด และแยกสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในเหล็ก ซึ่งเป็นการตีเหล็กที่มีพิธีรีตรอง ช่างตีเหล็กใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี ในการทำให้ดาบเล่มที่เขาตีนั้นสมบูรณ์แบบ แต่ดาบที่ผ่านการตีโดยช่างตีเหล็ก ซึ่งใช้ทั้งเทคนิคและเวลาใส่เข้าไปในเนื้องาน ก็คงไม่ทำให้ใครแปลกใจว่า ทำไมราคาดาบของญี่ปุ่นที่ตีด้วยเหล็กชนิดนี้ถึงได้ราคาเป็นหลักแสน หลักล้าน เพราะมันมีจิตวิญญาณของช่างตีดาบที่ถ่ายทอดกันมาหลายยุคหลายสมัยในตัวดาบ


What about Stainless Steel?

 

ดาบที่ทำจากเหล็กสเตนเลส ก็มีข้อดีในตัวของเขาเอง เพราะจะช่วยเจ้าของดาบประหยัดเรื่องเวลาในการเอาใจใส่ตัวดาบ ไม่ต้องกังวลเรื่องสนิม แต่ของมีคมไม่ว่าจะเป็นมีหรือดาบ หากใช้เหล็กสเตนเลสทำใบแล้ว ไม่ควรมีความยาวเกิน 12 นิ้ว เพราะหากเกินกว่านี้ มันทำให้เหล็กเกิดความเปราะและแตกหักง่ายเมื่อต้องมีการใช้งาน เช่นกันฟัน ที่ต้องมีการกระทบกับวัตถุที่มีความแข็ง ปกติแล้ว ดาบที่ใช้เหล็กสเตนเลส จะเป็นดาบที่ไว้ใช้เพื่องานตกแต่งบ้านมากกว่านำไปใช้งานจริง










 
 
 

Commentaires


Post: Blog2_Post
  • Facebook

©2020 by Sorn เลือดซามูไร. Proudly created with Wix.com

bottom of page